แนวทางการรักษาโรคอ้วน

โปรดจำไว้ว่าโรคอ้วนเป็นโรคเรื้อรัง มีแนวทางการรักษาโรคอ้วนหลายแบบให้ผู้ที่ดำเนินชีวิตอยู่กับโรคอ้วนได้พิจารณา ตั้งแต่การปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิต เช่น การรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย ไปจนถึงการใช้ยาลดน้ำหนัก หรือแม้แต่การผ่าตัดแบบแทรกแซง1,2 แพทย์ของท่านจะสามารถช่วยท่านตัดสินใจว่าวิธีไหนเหมาะสมสำหรับท่าน
Banner

แนวทางการรักษาโรคอ้วน

โปรดจำไว้ว่าโรคอ้วนเป็นโรคเรื้อรัง มีแนวทางการรักษาโรคอ้วนหลายแบบให้ผู้ที่ดำเนินชีวิตอยู่กับโรคอ้วนได้พิจารณา ตั้งแต่การปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิต เช่น การรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย ไปจนถึงการใช้ยาลดน้ำหนัก หรือแม้แต่การผ่าตัดแบบแทรกแซง1,2 แพทย์ของท่านจะสามารถช่วยท่านตัดสินใจว่าวิธีไหนเหมาะสมสำหรับท่าน

การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิต

Eating for wellness
การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาวะ

อย่างที่เราทุกคนล้วนทราบกันดี การรับประทานอาหารที่มีความสมดุลและมีประโยชน์ต่อสุขภาพสามารถให้สารอาหารที่จำเป็น และมักช่วยควบคุมปริมาณแคลอรี่ที่ทานเข้าไปได้ ไม่มีการรับประทานอาหารแบบใดแบบหนึ่งที่จะได้ผลสำหรับทุกคน แต่ละคนมีความต้องการที่แตกต่างกันออกไป โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง3,4 การรับประทานอาหารแบบจำกัดปริมาณแคลอรี่อาจเป็นเรื่องท้าทาย1 แต่ก็มีตัวช่วยสนับสนุนอยู่ ท่านสามารถพูดคุยกับนักกำหนดอาหารและนักโภชนาการอาหารที่ขึ้นทะเบียน เพื่อขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญได้

ทำตัวให้กระฉับกระเฉงอยู่เสมอ
ทำตัวให้กระฉับกระเฉงอยู่เสมอ

การเคลื่อนไหวเป็นส่วนสำคัญในเส้นทางสายสุขภาพของท่าน 5,6  นอกเหนือจากการเผาผลาญแคลอรี่แล้ว การทำกิจกรรมทางกายภาพอย่างสม่ำเสมอยังช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญ ซึ่งจะไปช่วยสนับสนุนความพยายามของท่านในการควบคุมน้ำหนักที่ดีต่อสุขภาพ 3,7   กิจกรรมทางกายภาพไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นในฟิตเนสเสมอไป  การเปลี่ยนแปลงง่าย ๆ อย่างเช่นการเดินให้มากขึ้นในแต่ละวัน การเลือกใช้บันไดแทนการใช้ลิฟต์ การเล่นกับลูก หรือการพาสุนัขไปเดินเล่นก็สามารถสร้างความแตกต่างได้เช่นกัน  ประโยชน์ของกิจกรรมเชิงภายภาพมีมากกว่าผลกระทบต่อระบบเผาผลาญ  มันสามารถกระตุ้นสุขภาวะที่ดีทางอารมณ์ของท่านได้ด้วย7

<span>ยาลดน้ำหนัก</span><sup>9</sup>
ยาลดน้ำหนัก9

ยาลดน้ำหนักอาจเป็นทางเลือกของบางกรณีที่มีค่า BMI อยู่ในเกณฑ์เฉพาะ การใช้ยาประเภทนี้ต้องอาศัยการประเมินอย่างครอบคลุมโดยผู้ชำนาญ และควรเป็นไปตามการสั่งยาเท่านั้น ยาเหล่านี้ไม่ได้มีไว้สำหรับการใช้ด้านความงาม แต่มีไว้สำหรับคนที่เป็นโรคอ้วน หรือคนที่มีน้ำหนักเกินพร้อมกับภาวะแทรกซ้อนอันเกี่ยวข้องกับโรคอ้วน ยาดังกล่าวทำงานผ่านกลไกต่าง ๆ เช่น การลดความอยากอาหาร ซึ่งอาจทำให้ปฏิบัติตามการเปลี่ยนแปลงด้านการรับประทานอาหารได้ง่ายขึ้น ยาเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียงและไม่เหมาะสำหรับทุกคน และยาบางตัวก็ไม่ได้มีไว้ให้ใช้สำหรับคนที่อายุน้อยกว่า 18 ปีด้วย

<span>การผ่าตัด</span>
การผ่าตัด

การผ่าตัดกระเพาะอาหารอาจเป็นทางเลือกการรักษาโรคอ้วนสำหรับคนที่มีค่า BMI อยู่ในเกณฑ์เฉพาะ ซึ่งมีภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วน 10,11  กระบวนการผ่าตัดที่ไม่เกี่ยวข้องกับความงาม ซึ่งกระทำโดยศัลแพทย์นี้ จะเปลี่ยนแปลงระบบย่อยอาหารเพื่อจำกัดปริมาณอาหารที่ทานเข้าไป (เช่น การผ่าตัดกระเพาะแบบสลีฟ การใส่หูรูดรัดกระเพาะ หรือการนำทางอาหารกลับไปยังลำไส้เพื่อลดความหิว (เช่น การผ่าตัดกระเพาะแบบบายพาส) 10,12  การผ่าตัดจำเป็นต้องอาศัยการประเมินก่อนการผ่าตัดอย่างครอบคลุม ความมุ่งมั่นตราบชั่วชีวิตที่จะเปลี่ยนแปลงการรับประทานอาหารและรูปแบบการใช้ชีวิต รวมถึงการเสริมสารอาหารและจุลธาตุตลอดชีวิต พร้อมกับการเฝ้าติดตามทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง10,11   การผ่าตัดอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงและภาวะซับซ้อน จึงไม่เหมาะสมสำหรับทุกคน10

อ้างอิงExpand Icon
  1. Obesity and overweight. WHO. Available at: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/obesity-and-overweight. Accessed on 04-04-2025
  2. National Heart, Lung, and Blood Institute. Overweight and obesity: treatment. Updated March 24, 2022. Accessed August 5, 2024. https://www.nhlbi.nih.gov/health/overweight-and-obesity/treatment
  3. Melby CL, Paris HL, Foright RM, Peth J. Attenuating the biologic drive for weight regain following weight loss: must what goes down always go back up? Nutrients. 2017;9(5):468. doi:10.3390/nu9050468
  4. Cena H, Calder PC. Defining a healthy diet: evidence for the role of contemporary dietary patterns in health and disease. Nutrients. 2020;12(2):334. doi:10.3390/nu12020334
  5. National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. Eating & physical activity to lose or maintain weight. Reviewed May 2023. Accessed August 5, 2024. https://www.niddk.nih.gov/health-information/weight-management/adult-overweight-obesity/eating-physical-activity
  6. Centers for Disease Control and Prevention. Physical activity and your weight and health. Updated December 27, 2023. Accessed August 5, 2024. https://www.cdc.gov/healthy-weight-growth/physical-activity/index.html
  7. American Diabetes Association. Health and wellness: anaerobic exercise and diabetes. Accessed August 5, 2024. https://diabetes.org/health-wellness/fitness/anaerobic-exercise-diabetes
  8. National Heart, Lung, and Blood Institute. Exercise and fitness: guide to physical activity. Accessed August 5, 2024. https://www.nhlbi.nih.gov/health/educational/lose_wt/phy_act.html
  9. National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. Prescription medications to treat overweight & obesity. Reviewed June 2024. Accessed August 5, 2024. https://www.niddk.nih.gov/health-information/weight-management/prescription-medications-treat-overweight-obesity
  10. National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. Types of weight-loss surgery. Reviewed September 2020. Accessed August 5, 2024. https://www.niddk.nih.gov/health-information/weight-management/bariatric-surgery/types
  11. National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. Potential candidates for weight-loss surgery. Reviewed September 2020. Accessed August 5, 2024. https://www.niddk.nih.gov/health-information/weight-management/bariatric-surgery/potential-candidates
  12. National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases. Weight-loss (metabolic & bariatric) surgery. Reviewed July 2016. Accessed August 5, 2024. https://www.niddk.nih.gov/health-information/weight-management/bariatric-surgery