โรคอ้วนคือโรคอะไร?

โรคอ้วนเป็นโรคเรื้อรัง1
โรคอ้วนได้รับการยอมรับว่าเป็นโรคเรื้อรังโดยองค์กรทางการแพทย์หลายแห่งมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งรวมถึงองค์การอนามัยโลก (WHO)1 และสมาคมการแพทย์อเมริกัน (AMA)2 โรคอ้วนถือเป็นโรคเรื้อรังที่มีความซับซ้อน โดยนิยามจากการสะสมของไขมันจำนวนมากเกินไปที่สามารถบั่นทอนสุขภาพ1,2

โรคอ้วนอาจเกิดขึ้นจากการรวมกันที่ซับซ้อนของปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงพันธุกรรม สภาพแวดล้อม การรับประทานอาหาร รูปแบบการใช้ชีวิต และสถานการณ์เชิงสังคมและวัฒนธรรม3,4-7

ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา งานศึกษาหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่าพันธุกรรมส่งผลต่อน้ำหนักตัว หรือค่า BMI4,5สำหรับคนที่ดำเนินชีวิตอยู่กับภาวะน้ำหนักเกิน หรือโรคอ้วนนั้น พันธุกรรมส่งผลต่อการผันแปรของน้ำหนักตัวอยู่ที่ 50-80% โดยประมาณ4 การส่งผลของพันธุกรรมต่อการผันแปรของน้ำหนักตัวสำหรับคนที่ไม่ได้เป็นโรคอ้วน หรือมีภาวะน้ำหนักเกินประมาณการณ์อยู่ที่ 30-35% เพียงเท่านั้น4

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่พึงระลึกไว้คือพันธุกรรมด้วยตัวของมันเอง โดยแทบจะไม่สามารถกำหนดกายวิภาคศาสตร์ หรือพฤติกรรมของคนคนหนึ่งได้เลย หากแต่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมกับสภาพแวดล้อมต่างหาก ที่สามารถส่งอิทธิพลและกระตุ้นให้น้ำหนักขึ้นได้5
โรคอ้วนก็เหมือนกับโรคเรื้อรังอีกหลายประเภทที่ส่งผลกระทบต่อผู้ที่ดำเนินชีวิตกับโรคนั้นและผู้อื่นที่อยู่รอบตัวคนผู้นั้นอย่างมีนัยสำคัญ

การดำเนินชีวิตอยู่กับโรคอ้วนสามารถนำไปสู่ข้อจำกัดทางกายภาพ ส่งผลต่อสุขภาพจิต และมีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพมากกว่า 200 อย่าง7,8 คนที่ดำเนินชีวิตอยู่กับโรคอ้วนอาจรู้สึกติดอยู่กับที่เมื่อความพยายามในการลดน้ำหนักไม่เป็นผลสำเร็จ เนื่องจากปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของตนเอง หรืออาจพบว่าตนเองตกอยู่ในวัฏจักรน้ำหนักลดลงแล้วเพิ่มกลับมาใหม่9

ขณะที่พยายามประคับประคองการลดน้ำหนัก กระบวนการการต่อต้านทางชีวภาพอาจทำให้เกิดความหิวมากขึ้น รู้สึกอิ่มน้อยลง และเกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบเผาผลาญ ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้ล้วนทำงานสวนทางกับความพยายามในการลดน้ำหนักของท่าน10

เมื่อท่านมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับสาเหตุที่อาจทำให้การลดน้ำหนักนั้นเป็นเรื่องยาก3,11 ทั้งท่านและผู้ให้บริการด้านสุขภาพของท่านจะสามารถเริ่มต้นจัดการกับสาเหตุของโรคอ้วน เพื่อช่วยให้ท่านสามารถควบคุมโรคของท่านได้

Banner

โรคอ้วนคือโรคอะไร?

โรคอ้วนเป็นโรคเรื้อรัง1
โรคอ้วนได้รับการยอมรับว่าเป็นโรคเรื้อรังโดยองค์กรทางการแพทย์หลายแห่งมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งรวมถึงองค์การอนามัยโลก (WHO)1 และสมาคมการแพทย์อเมริกัน (AMA)2 โรคอ้วนถือเป็นโรคเรื้อรังที่มีความซับซ้อน โดยนิยามจากการสะสมของไขมันจำนวนมากเกินไปที่สามารถบั่นทอนสุขภาพ1,2

โรคอ้วนอาจเกิดขึ้นจากการรวมกันที่ซับซ้อนของปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงพันธุกรรม สภาพแวดล้อม การรับประทานอาหาร รูปแบบการใช้ชีวิต และสถานการณ์เชิงสังคมและวัฒนธรรม3,4-7

ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา งานศึกษาหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่าพันธุกรรมส่งผลต่อน้ำหนักตัว หรือค่า BMI4,5สำหรับคนที่ดำเนินชีวิตอยู่กับภาวะน้ำหนักเกิน หรือโรคอ้วนนั้น พันธุกรรมส่งผลต่อการผันแปรของน้ำหนักตัวอยู่ที่ 50-80% โดยประมาณ4 การส่งผลของพันธุกรรมต่อการผันแปรของน้ำหนักตัวสำหรับคนที่ไม่ได้เป็นโรคอ้วน หรือมีภาวะน้ำหนักเกินประมาณการณ์อยู่ที่ 30-35% เพียงเท่านั้น4

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่พึงระลึกไว้คือพันธุกรรมด้วยตัวของมันเอง โดยแทบจะไม่สามารถกำหนดกายวิภาคศาสตร์ หรือพฤติกรรมของคนคนหนึ่งได้เลย หากแต่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมกับสภาพแวดล้อมต่างหาก ที่สามารถส่งอิทธิพลและกระตุ้นให้น้ำหนักขึ้นได้5
โรคอ้วนก็เหมือนกับโรคเรื้อรังอีกหลายประเภทที่ส่งผลกระทบต่อผู้ที่ดำเนินชีวิตกับโรคนั้นและผู้อื่นที่อยู่รอบตัวคนผู้นั้นอย่างมีนัยสำคัญ

การดำเนินชีวิตอยู่กับโรคอ้วนสามารถนำไปสู่ข้อจำกัดทางกายภาพ ส่งผลต่อสุขภาพจิต และมีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพมากกว่า 200 อย่าง7,8 คนที่ดำเนินชีวิตอยู่กับโรคอ้วนอาจรู้สึกติดอยู่กับที่เมื่อความพยายามในการลดน้ำหนักไม่เป็นผลสำเร็จ เนื่องจากปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของตนเอง หรืออาจพบว่าตนเองตกอยู่ในวัฏจักรน้ำหนักลดลงแล้วเพิ่มกลับมาใหม่9

ขณะที่พยายามประคับประคองการลดน้ำหนัก กระบวนการการต่อต้านทางชีวภาพอาจทำให้เกิดความหิวมากขึ้น รู้สึกอิ่มน้อยลง และเกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบเผาผลาญ ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้ล้วนทำงานสวนทางกับความพยายามในการลดน้ำหนักของท่าน10

เมื่อท่านมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับสาเหตุที่อาจทำให้การลดน้ำหนักนั้นเป็นเรื่องยาก3,11 ทั้งท่านและผู้ให้บริการด้านสุขภาพของท่านจะสามารถเริ่มต้นจัดการกับสาเหตุของโรคอ้วน เพื่อช่วยให้ท่านสามารถควบคุมโรคของท่านได้

ท่านกำลังดำเนินชีวิตอยู่กับโรคอ้วนหรือไม่?

ดัชนีมวลกาย (BMI) และโรคอ้วน

การนิยามโรคอ้วนต้องอาศัยการพิจารณาด้านต่าง ๆ กล่าวคือ มันมีความซับซ้อนมากกว่าแค่ตัวเลขบนตาชั่ง12
โรคอ้วนเป็นโรคเรื้อรัง และถึงแม้ว่าจะสามารถใช้ค่า BMI ในการจัดประเภทโรคอ้วนได้ แพทย์ของท่านอาจพิจารณาปัจจัยอื่นเพิ่มเติม13ปัจจัยเหล่านี้รวมถึงขนาดสัดส่วนเอวต่อความสูง และผลกระทบที่ภาวะน้ำหนักเกินมีต่อสุขภาพ หรือคุณภาพชีวิตของท่าน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการแพทย์ ด้านการทำงาน หรือด้านจิตวิทยา14 ค่า BMI คำนวณโดยการเปรียบเทียบน้ำหนักกับส่วนสูงของท่าน และสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้เบื้องต้นว่าท่านควรไปปรึกษาแพทย์ของท่านหรือไม่

ใส่ส่วนสูงและน้ำหนักของท่านเพื่อคำนวณค่า BMI

ใช้ตารางด้านล่างเพื่อดูเกณฑ์ค่า BMI สำหรับผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป และคำนิยามสำหรับแต่ละเกณฑ์12  สิ่งสำคัญที่ต้องทราบคือ เกณฑ์ค่า BMI อาจแตกต่างกันไปตามชาติพันธุ์ของแต่ละคน โปรดจำไว้ว่าค่า BMI ของท่านเป็นตัวบ่งชี้โรคอ้วนเพียงตัวเดียวเท่านั้น  เพราะฉะนั้นการปรึกษากับแพทย์ของท่านเกี่ยวกับเรื่องนี้จึงเป็นการดีที่สุด 

เครื่องคำนวณค่า BMI


กรอกส่วนสูงและน้ำหนักของท่านเพื่อรับผลลัพธ์

หากท่านเป็นกังวลเกี่ยวกับผลลัพธ์ค่า BMI โปรดปรึกษาแพทย์ของท่าน

เกณฑ์ค่า BMI12

≤18.5

ถ้าค่า BMI ของท่านน้อยกว่า 18.5 กก./ม2 ถือว่าอยู่ภายในเกณฑ์น้ำหนักน้อยกว่าปกติ 


18.5 - 22.9

ถ้าค่า BMI ของท่านอยู่ระหว่าง 18.5 และ 22.9 กก./ม2 ถือว่าอยู่ภายในเกณฑ์น้ำหนักตัวปกติ


23 - 24.9

ถ้าค่า BMI ของท่านอยู่ระหว่าง 23 และ 24.9 กก./ม2 ถือว่าอยู่ภายในเกณฑ์น้ำหนักตัวเกิน


25 - 29.9

ถ้าค่า BMI ของท่านอยู่ระหว่าง 25 และ 29.9 กก./ม2 ถือว่าอยู่ภายในเกณฑ์โรคอ้วนระดับที่ 1


≥ 30

ถ้าค่า BMI ของท่านสูงกว่าหรือเท่ากับ 30.0 กก./ม2 ถือว่าอยู่ภายในเกณฑ์โรคอ้วนระดับที่ 2


อ้างอิงExpand Icon
  1. Accessed on April 28th, 2025: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/obesity-and-overweight
  2. Accessed on April 28th, 2025: https://policysearch.ama-assn.org/policyfinder/detail/obesity? uri=%2FAMADoc%2FHOD.xml-0-3858.xml
  3. Greenway FL. Physiological adaptations to weight loss and factors favouring weight regain. Int J Obes (Lond). 2015;39(8):1188–1196.
  4. Bouchard C. Genetics of Obesity: What We Have Learned Over Decades of Research. Obesity 2021; 29(5):802–820.
  5. Albuquerque D, Nóbrega C, Manco L, and Padez C. The contribution of genetics and environment to obesity. British Medical Bulletin 2017; 123:159–173.
  6. Eunice Kennedy Shriver National Institute of Child Health and Human Development. What causes obesity & overweight? Reviewed July 28, 2021. Available at: https://www.nichd.nih.gov/health/topics/obesity/conditioninfo/cause [Accessed January 2025].
  7. Albano G, Rowlands K, Baciadonna L, Coco GL, Cardi V. Interpersonal difficulties in obesity: a systematic review and meta-analysis to inform a rejection sensitivity-based model. Neurosci BENEFI.
  8. Horn SB, Almandoz JP, Look M. What is clinically relevant weight loss for your patients and how can it be achieved? A narrative review. Postgrad Med. 2022;134(4):359–375.
  9. Hall KD, Kahan S. Maintenance of lost weight and long-term management of obesity. Med Clin North Am. 2018;102(1):183–197.
  10. Ochner CN, Barrios DM, Lee CD, Pi-Sunyer FX. Biological mechanisms that promote weight regain following weight loss in obese humans. Physiol Behav. 2013;120:106–113.
  11. MacLean PS, Bergouignan A, Cornier MA, Jackman MR. Biology's response to dieting: the impetus for weight regain. Am J Physiol Regul Integr Comp Physiol. 2011;301(3):R581–R600.
  12. National Heart, Lung, and Blood Institute. Overweight and obesity: symptoms and diagnosis. Updated March 24, 2022. Available at: https://www.nhlbi.nih.gov/health/overweight-and-obesity/symptoms [Accessed January 2025].
  13. Busetto L, Dicker D, Frühbeck G, et al. A new framework for the diagnosis, staging and management of obesity in adults. Nat Med. E-pub July 5, 2024. doi:10.1038/s41591-024-03095-3.
  14. Stephenson J, Smith CM, Kearns B, Haywood A, Bissell P. The association between obesity and quality of life: a retrospective analysis of a large-scale population-based cohort study. BMC Public Health. 2021;21(1):1990.